February 24, 2024
วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนจะได้ร่วมรำลึกถึงโอกาสอันเป็นมงคล ที่พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มารวมตัวกันเพื่อฟังหลักธรรมโอวาทปาติโมกข์อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาจากพระพุทธเจ้า โดยหนึ่งในกิจกรรมที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่องในวันมาฆบูชา คือ การทำบุญตักบาตรในตอนเช้าด้วยอาหารคาวหวานและผลไม้ เพื่อเป็นการเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต
โดยในวันนี้ Rozocha จึงมี 6 เคล็ดลับดี ๆ ในการเลือกผลไม้ใส่บาตร ที่จะให้ชาวพุทธทุกคนสามารถเลือกผลไม้เพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ในวันมาฆบูชาได้อย่างสมบูรณ์แบบและมีความเป็นสิริมงคลมากที่สุด มาฝากทุกคนกันในบทความนี้
การเลือกผลไม้ตามฤดูกาลสำหรับใส่บาตรและถวายพระภิกษุสงฆ์ นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ที่จะช่วยให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับประโยชน์จากการฉันผลไม้อย่างแท้จริง เนื่องจากผลไม้ตามฤดูกาลเหล่านี้ เป็นผลไม้ที่ให้ผลผลิตเองตามธรรมชาติ โดยที่ไม่ผ่านการถูกกระตุ้นด้วยปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งการเจริญเติบโตที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นแล้ว ผลไม้ตามฤดูกาลจึงเป็นผลไม้ที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย และอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอาหารที่สูงกว่าผลไม้ทั่วไป นอกจากนี้ ผลไม้ตามฤดูกาลยังสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้ชาวพุทธสามารถเลือกซื้อผลไม้ตามฤดูกาลมาใส่บาตรได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
การเลือกผลไม้ที่มีรสหวานหรือให้พลังงานสูงมาตักบาตรหรือถวายอาหารเพล เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พระภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่อาพาธด้วยโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด หรือภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น เพราะฉะนั้นแล้ว การเลือกผลไม้สำหรับใส่บาตรที่มีรสไม่หวานและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อาทิ ฝรั่ง ชมพู่ ส้ม มะม่วง สับปะรด หรือแก้วมังกร จึงนับเป็นทางเลือกในการใส่บาตรที่ดีต่อสุขภาพ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการอาพาธด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ให้กับพระภิกษุสงฆ์ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
ผลไม้สำหรับใส่บาตรที่ไม่มีเมล็ด ถือเป็นผลไม้ที่พระภิกษุสงฆ์สามารถนำมาฉันได้ทันทีโดยไม่มีความผิดตามพระวินัยบัญญัติ ซึ่งจะแตกต่างไปจากผลไม้ที่มีเมล็ดที่จะต้องทำกัปปะหรือกัปปิยะ กล่าวคือ การจะต้องทำการจัดเตรียมผลไม้ให้ถูกต้องตามพระวินัยเสียก่อนจึงจะสามารถฉันได้ อาทิ การใช้มีดปลอกผลไม้ การใช้ไฟแช็กลนบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของผลไม้ หรือการใช้เล็บจิกเข้าไปบนผลไม้ เป็นต้น ดังนั้น การเลือกผลไม้ที่ไม่มีเมล็ดจึงนับเป็นทางเลือกสำหรับการใส่บาตรที่มีความเหมาะสมและสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชาวพุทธได้เป็นอย่างดี
คนไทยและชาวพุทธมีความเชื่อที่ว่า การเลือกผลไม้ที่มีความหมายมงคลมาใส่บาตรพระภิกษุสงฆ์จะเป็นการนำพาโชคดีและความเป็นสิริมงคลมาสู่ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น การเลือกสับปะรดมาใส่บาตร จะหมายถึงการเรียกโชคลาภ ความมั่งคั่ง และความโชคดีมาให้ การเลือกส้มมาใส่บาตร จะหมายถึงการช่วยเสริมมงคลในเรื่องของการเงิน โชคลาภ เงินทอง และความเจริญรุ่งเรือง และการเลือกมะม่วงมาใส่บาตร จะหมายถึงการอวยพรให้มีสติปัญญาที่ดี เป็นต้น
สาระสำคัญของการใส่บาตรและถวายผลไม้แด่พระภิกษุสงฆ์อยู่ที่ความจริงใจและความตั้งใจเบื้องหลัง มากกว่าปริมาณหรือความหลากหลายของผลไม้ที่เลือกนำมาใส่บาตร เพราะฉะนั้นแล้ว ในการเลือกผลไม้สำหรับใส่บาตรทุกครั้ง ชาวพุทธควรเลือกผลไม้มาใส่บาตรในปริมาณที่เหมาะสม หรือประมาณ 400 กรัม สำหรับพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป เนื่องจากผลไม้ในปริมาณ 400 กรัม ถือเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และเป็นปริมาณที่สามารถรับประทานได้หมดโดยไม่เหลือทิ้งเป็นขยะอาหาร
ผลไม้ฟรีซดราย อาทิ ทุเรียนฟรีซดราย มังคุดฟรีซดราย ข้าวเหนียวมะม่วงฟรีซดราย ข้าวเหนียวทุเรียนฟรีซดราย และทุเรียนกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ รวมถึงผลไม้ทอดกรอบ อาทิ มะม่วงทอดกรอบ และสับปะรดทอดกรอบ โดยเฉพาะมะม่วงทอดกรอบจาก Rozocha เพราะมะม่วงนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกยอดนิยมสำหรับการใส่บาตรและถวายผลไม้แด่พระภิกษุในวันมาฆบูชา เนื่องจาก ผลไม้ฟรีซดราย และผลไม้ทอดกรอบ จาก Rozocha ไม่เพียงปราศจากสารปรุงแต่งและสารกันเสียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ผลไม้ฟรีซดราย และผลไม้ทอดกรอบ จาก Rozocha ยังสามารถให้รสชาติและคุณค่าทางอาหารที่ใกล้เคียงกับการรับประทานผลไม้สดได้อย่างครบครันมากที่สุด ไม่มีกลูเตน ไม่มีสารเติมแต่ง แถมยังอร่อย เคี้ยวสนุกได้ทุกที่ทุกเวลานั่นเอง